ส่วนลดพิเศษ 10% บริการส่งด่วนฟรี หาเจอทุกเล่ม บริการส่งหนังสือตามสั่ง บริการเก็บเงินปลายทาง
กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-19 ธ.ค. 2567 รวม 11 อัตรา,

กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-19 ธ.ค. 2567 รวม 11 อัตรา,

แชร์

กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-19 ธ.ค. 2567 รวม 11 อัตรา,

กระทรวงพลังงาน

ลิงค์: https://ehenx.com/18177/ หรือ
ตำแหน่ง: นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 16,500-11,650
อัตราว่าง: 11
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 19 ธ.ค. 2567
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ และตำแหน่ง ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แพ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐ร/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแช่งขัน บรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งฃันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

(1) ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทุกสาขาวิชา และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

(1) ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชีสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชีหรือ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ทางเศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

(1) ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทุกสาขาวิชา และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

(1) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาก่อสร้าง สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาโยธาสาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาสำรวจ และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

(1) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทุกสาขาวิชา และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน ในภาพรวมมีความถูกต้อง ครบถ้วน และตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง) โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ดังนี้
(๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑.๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การ จัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐหรือของส่วนราชการ
(๑.๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงาน เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๓) ศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและความ จำเป็น ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการวางแผนและ เสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและแผนการจัดสรรทุนการศึกษา และการฟิกอบรม
(๑.๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่งและวางแผน อัตรากำลังของส่วนราชการ
(๑.๕) ศึกษา รวบรวม และริเคราห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหารผลการ ปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
(๑.๖) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
(๑.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
(๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
(๓) ด้านการประสานงาน
(๓.๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือ และผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๓.๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

(๔) ด้านการบริการ
(๔.๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องด้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงาน หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความ เข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(๔.๒) ให้บริการข้อมูล เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจ ของบุคคล หรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่าง ๆ
(๔.๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง) โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ดังนี้
(๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑.๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงฐานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของ ส่วนราชการ
(๑.๒) รวบรวมข้อมูลและรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และทันสมัย
(๑.๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับ ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๑.๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๑.๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ – จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(๑.๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชีแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการ ปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรม และวิธีใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นด้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน และข้อกำหนด (๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
(๓) ด้านการประสานงาน
(๓.๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๓.๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
(๔) ด้านการบริการ
(๔.๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล และความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๔.๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการ พิจารณากำหนดนโยบายแผนงาน หลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง) โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ดังนี้
(๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑.๑) รวบรวม วิเคราะห์และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง และ สังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือนโยบายแผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการบริหาร หรือความมั่นคง
(๑.๒) รวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของ ส่วนราชการหรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงาน หรือโครงการ ให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
(๑.๓) วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทำแผน การปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(๑.๔) สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและประเด็น ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือ กำหนดยุทธศาสตร์
(๑.๕) ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบการ เสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไปใน แนวทางเดียวกัน
(๑.๖) ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นโยบายของรัฐบาล รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑.๗) ภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ทิศทาง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
(๑.๘) ข้อมูล สถานการณ์ และนโยบายด้านพลังงานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลวิชาการ พลังงานระหว่างประเทศในปัจจุบันและอนาคต
(๑.๙) จัดทำฐานข้อมูลในความรับผิดชอบและหมั่นปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน
(๑.๑๐) นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยจัดทำเป็นกลยุทธ์และท่าที่ของฝ่ายไทยในการดำเนิน นโยบายความร่วมมือด้านพลังงานทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี และกับองค์การระหว่างประเทศ
(๑.๑๑) วิเคราะห์และติดตามผลให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ ของกระทรวงพลังงาน
(๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด

(๓) ด้านการประสานงาน
(๓.๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลส้มฤทธตามที่กำหนด ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางพิธีการทางด้านต่างประเทศ
(๓.๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
(๔) ด้านการบริการ
(๔.๑) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับกับการจัดทำแผนงาน โครงการ ของหน่วยงาน
(๔๒)ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผน เพื่อแก้ปัญหา ในการปฏิบัติงาน


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านช่างเทคนิค ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค) โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ดังนี้
(๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑.๑) ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่นๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมในการใช้งาน
(๑.๒) ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตาม หลักวิชาและมาตรฐาน งานช่างและให้เกิดความปลอดภัย
(๒) ด้านบริการ
(๒.๑) ให้คำปรึกษาแนะนำจัดทำข้อมูลถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไป ให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒.๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ชั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) โดยมีหน้าที่ความ รับผิดชอบหลัก ดังนี้
(๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑.๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนด
(๑.๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปี ของหน่วยงาน
(๑.๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการ ปฏิบัติงาน
(๑.๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน
(๒) ด้านบริการ
(๒.๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีแกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒.๒) ประสานงานในระดับกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความ ช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ต่อการทำงานของหน่วยงาน

วิชาที่สอบ

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๔๑
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๓๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
(๓) ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
(๔) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาบุคลากร
(๔) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
(๒) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๓ วินัย การเงินการคลัง และหมวด ๔ การบัญชี การรายงาน และการตรวจสอบ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
(๔) ความรู้เกี่ยวกับการบัญชี และการบัญชีภาครัฐ


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและ ยุทธศาสตร์ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์พลังงาน การจัดทำนโยบายและแผนด้านพลังงาน การจัดทำงบประมาณภาครัฐ และการวิเคราะห์เชิงวิชาการเกี่ยวกับพลังงาน
(๒) ความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ด้านพลังงาน การผลิตและการใช้พลังงานของประเทศ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจและการสื่อสารกับภาคประชาชน
(๓) ความรู้เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงาน
(๔) ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานช่างพื้นฐาน การเขียนแบบวิศวกรรม การวิเคราะห์และ ประมาณราคางานก่อสร้าง การวางแผนและควบคุมงานก่อสร้าง การดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมบำรุงรักษาระบบ สาธารณูปโภค การซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง ติดตั้งเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ และความรู้เกี่ยวกับ เครื่องสูบนี้าและไฟฟ้าเบื้องด้น
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านพลังงาน ดังนี้
–    พระราชบัญญัติควบคุมนี้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
–    พระราชบัญญัติการค้านี้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
(๓) ความรู้เบื้องด้นด้านพลังงาน นี้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซ และไฟฟ้า การพัฒนาพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๓ วินัย การเงินการคลัง และหมวด ๔ การบัญชี การรายงาน และการตรวจสอบ
(๒) ความรู้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก็ไขเพิ่มเดิม
(๓) ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
(๔) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓
(๕) ความรู้เกี่ยวกับการบัญชี


วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงพลังงาน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 19 ธ.ค. 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกระทรวงพลังงาน

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร

ตำแหน่ง: นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 16,500-11,650
อัตราว่าง: 11
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงพลังงาน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 19 ธ.ค. 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกระทรวงพลังงาน

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร


คลิกเพื่อค้นหาคู่มือ/หนังสือเตรียมสอบสำหรับ : กระทรวงพลังงาน

Facebook Comments

แชร์
Cart
Your cart is currently empty.